ข้อควรรู้ การทำ พ.ร.บ. ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก การทำ พ.ร.บ. รถยนต์และรถจักรยานยนต์จะช่วยให้เราอุ่นใจมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด เหมือนว่าเราได้ซื้อค่าชีวิตของตนเองเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิต แต่สิ่งที่ควรรู้ของการทำ พ.ร.บ. นั้นจะต้องรู้จักเรื่องของวงเงินคุ้มครอง และการเบิกประกันภัยเข้ามาด้วย ซึ่งในบทความนี้จะขอแนะนำได้ดังนี้ว่ามีอะไรบ้าง
วงเงินคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ก่อนจะพูดถึงวงเงินคุ้มครองตาม พ.ร.บ.นั้น อันดับแรกต้องเข้าใจในเรื่องของค่าเสียหายเบื้องต้นก่อน ซึ่งค่าเสียหายในเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายที่กฎหมายได้กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องจ่ายโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดหรือรอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเลย และให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน ซึ่งจะต้องกำหนดจ่ายภายใน 7 วัน
- ค่ารักษาพยาบาลโดยเน้นการจ่ายตามบิลรักษาจริงๆ และดูจากใบเสร็จของทางโรงพยาบาลเป็นหลัก ซึ่งจะได้รับวงเงินคุ้มครองไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับวงเงินคุ้มครอง 35,000 บาท
- แต่หากเกิดความเสียหายทั้งสองกรณีทั้งรักษาพยาบาล และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุร่วมด้วย หรือบางเคสที่มีทั้งรักษาพยาบาลและสูญเสียอวัยวะจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จะได้รับความคุ้มครองรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
การเบิกประกันภัยตาม พ.ร.บ.
ถ้าหากจะขอเบิกประกันภัยตาม พ.ร.บ.ที่ตนซื้อมานั้น จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อทำเรื่องขอเบิกได้ดังนี้
- กรณีบาดเจ็บ แล้วต้องการเบิกค่ารักษาพยาบาล
- ให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้นจริงๆ
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
- กรณีทุพพลภาพถาวร หรือสูญเสียอวัยวะ
- ให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้นจริงๆ
- ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองความพิการที่ทางทะเบียนออกให้
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายเพราะประสบภัยจากรถให้เตรียมสำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้นโดยตรง
- กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้นจริงๆ
- ใบมรณบัตรที่ออกให้โดยทางอำเภอหรือโรงพยาบาล
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ของผู้เป็นทายาท เช่น สำเนาทะเบียนบ้านของทายาทที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้นโดยตรง
- กรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลและเบิกค่าชดเชย กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน ยกเว้นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายกระทำผิด หรือต้องรับผิดทางกฎหมาย ไม่สามารถเบิกค่าชดเชยได้
- สำเนาบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นผู้มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุนั้นจริงๆ เพื่อดำเนินการขอเบิกในฐานะพักรักษาตัว
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน หรือหนังสือรับรองรักษาของผู้ป่วยใน